ประวัติ ของ วัดอัมพวัน (จังหวัดลพบุรี)

วัดอัมพวัน ตั้งอยู่เลขที่ ๙๑ หมู่ ๑ ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย สร้างขึ้นในราวพุทธศักราช ๒๔๑๕ ได้รับพระราชทานวิสุง คามสีมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๒๐ ตามตำนานกล่าว กันว่ากรมช้างในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ได้ให้ควาญช้างนำช้าง ไปเลี้ยงยังป่าละเมาะใกล้คลองตาสา หรือวัดกลาง ในปัจจุบัน พื้นที่วัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรีทางด้านทิศเหนือ และแวดล้อมด้วยหมู่บ้านชาวมอญมาแต่อดีต สันนิษฐานว่าเป็นชาวมอญที่สืบเชื้อสายกันมา ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สืบเนื่องจากที่ชาวมอญจากเมืองมอญอพยพตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเข้ามา หลังประกาศเอกราช ณ เมืองแครง โดยมีพระมหาเถรคันฉ่องเป็นผู้ช่วยเหลือ ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้ปูนบำเหน็จแก่ขุนนางและพระสงฆ์มอญขนานใหญ่ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับชุมชนมอญบางขันหมาก จังหวัดลพบุรีนั้น น่าจะเห็นเด่นชัดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่สร้างพระราชวังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ที่ลพบุรี คงได้เกณฑ์ชาวมอญส่วนหนึ่งมาก่อเตาเผาอิฐสร้างพระราชวัง และอาราธนาพระสงฆ์มอญมาด้วย และยังสร้างวัด “ตองปุ” ให้พระสงฆ์มอญจำพรรษา นอกจากชื่อวัดอัมพวันแล้ว ยังมีชาวบ้านเรียกขานชื่อวัดไปต่าง ๆ กันอีกหลายชื่อ ได้แก่ “วัดค้างคาว” ด้วยเหตุที่สมัย ก่อนนั้นในเขตวัดอัมพวันมีค้างคาวแม่ไก่มาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

ใกล้เคียง

วัดอัมพวัน วัดอัมพวัน (จังหวัดสิงห์บุรี) วัดอัมพวันเจติยาราม วัดอัมพวัน (จังหวัดลพบุรี) วัดอัมพวัน (จังหวัดนครนายก) วัดอัมพวัน (กรุงเทพมหานคร) วัดอัมพวัน (จังหวัดนนทบุรี) วัดอัมพวัน (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) วัดอัมพวัน ก.ม. 7